วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วิธีสอนแบบอริยสัจ

                  ดวงเดือน  เทศวานิช(2530:87-88 ) ได้กล่าวถึง
ความหมาย
              การสอนแบบอริยสัจสี่ หมายถึง การสอนที่พระพุทธเจ้าทรงคิดขึ้น เพื่อใช้เป็นคำสอนซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา และมีขั้นตอนคล้ายคลึงกันวิธีการทางวิทยาศาสตร์
ขั้นต่างๆ ของอริยสัจสี่
               1. ทุกข์ คือ การเห็นว่าทุกข์นั้นเป็นปัญญา ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ การพิจารณาปัญหาอย่างถูกต้องและเหมาะสม
               2. สมุทัย คือ การหาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ หรือสาเหตุแห่งปัญหา สาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ถ้ากำจัดตัณหาได้ ทุกข์ก็คงจะหมดไป เมื่อรู้ถึงสาเหตุของปัญหาแล้ว ก็ลองกำหนดหลักการในการแก้ไขปัญหา เช่น บำเพ็ญทุกรกิริยา อดอาหาร ทำสมาธิ เป็นต้น ซึ่งตรงกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์
การตั้งสมมติฐาน
               3. นิโรธ คือ การดับทุกข์ โดยดับที่สาเหตุแห่งทุกข์ ในขั้นนี้เป็นการลองทำตามที่ตั้งสมมุติฐานไว้ เช่น บำเพ็ญทุกรกิริยา จำผลการปฏิบัติไว้พิจารณา เมื่อเห็นว่า ทำทุกรกิริยา ไม่อาจพ้นทุกข์ได้ ก็ทำอย่างอื่นต่อไปได้อีก ซึ่งตรงกับวิธีการทางวิทาศาสตร์ที่ว่า การรวบรวมข้อมูล
               4. มรรค คือ ทางแห่งดับทุกข์ เป็นวิถีทางในการแก้ไขปัญหาจาการทดลองแก้ไขปัญหาด้วยวิธีต่างๆ ตามสมมุติฐานแล้ว เช่น พบว่า การบำเพ็ญทุกรกิริยา หรือการอดอาหารนั้นไม่ได้เป็นผลดับทุกข์ แต่การปฏิบัติตามแนวทางของมรรค 8 หรือมรรคมีองค์แปดนั้นเป็นการปฏิบัติให้พ้นทุกข์ คือ การเวียนว่ายตายเกิด สำหรับมรรค 8 นั้น ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาจา
 (เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
สัมมาสติ (ระลึกชอบ) และสัมมาสมาธิ (ตั้งใจชอบ) เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว จะเห็นได้ว่า ขั้นต่างๆ ของอริยสัจสี่ มีส่วนตรงกันกับขั้นต่างๆ ของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ คือต่างก็เป็นวิธีหาหนทางในการแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผลนั่นเอง
ได้กล่าวถึง การสอนแบบอริยสัจ 
กระบวนการเรียนรู้ 
1.ขั้นนำ 
         1.1 ครูสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนเกิดความเลื่อมใส ศรัทธาในพระรัตนตรัย โดยให้นักเรียนสวดมนต์ไหว้พระ และนั่งสมาธิก่อนการเรียนประมาณ 3 นาที 
         1.2 ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาทำความเข้าใจเกี่ยวกับพระรัตนตรัย โดยครูใช้คำถาม ดังนี้ 
                  -  นักเรียนรู้จักพระรัตนตรัยทางพระพุทธศาสนาหรือไม่ มีอะไรบ้าง 
                  -  นักเรียนเคยนำธรรมะทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหรือไม่ อย่างไร 
                  -  เมื่อนำธรรมะทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในชีวิตแล้ว เกิดผลอย่างไร 
         1.3 นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น โดยไม่ต้องสรุป 
         1.4 ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ 
2. ขั้นสอน 
         2.1 ขั้นศึกษาปัญหา (ขั้นทุกข์) 
               1) แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4-5 คน แบบคละความสามารถ และให้สมาชิกในกลุ่มนั่งหันหน้าเข้าหากัน 
               2) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มออกมารับใบงานที่ 1.1 เรื่องคุณค่าของสังฆคุณ 9 
               3) ให้นักเรียนร่วมกันอ่านและอภิปรายภายในกลุ่ม ให้รู้ปัญหาของ เรื่องคุณค่าของ สังฆคุณ 9 แล้วบันทึกผลในใบงานที่ 1.1 
               4) ครูแจกใบความรู้ที่ 1 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เกี่ยวกับหลักธรรม จาก ใบความรู้ที่ 1 เรื่องความหมายและคุณค่าของสังฆคุณ 9 
        2.2 ขั้นแยกแยะสาเหตุของปัญหา (ขั้นสมุทัย) 
              5) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มคิดหาสาเหตุของปัญหาจากสถานการณ์ในใบงานที่ 1.1 เรื่อง คุณค่าของสังฆคุณ 9 แล้วบันทึกผลในใบงานที่ 1.1 
             6) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มออกมารับใบงานที่ 1.3 เรื่อง วิเคราะห์คุณค่าของสังฆคุณ 9 ไปแจกให้เพื่อนในกลุ่มให้ครบทุกคน ๆ ละ 1 ชุด แล้ว ช่วยกันศึกษา เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับสังฆคุณ 9 
             7) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มคิดหาวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม จากสถานการณ์ในใบงานที่ 1.1 และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม 
        2.3 ขั้นการเลือกแนวทางปฏิบัติ (ขั้นนิโรธ)
             8)ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายว่า มีแนวทางในการแก้ปัญหาให้แก่ชาลีได้อย่างไรบ้าง พร้อมแสดงวิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน แล้วบันทึกผลใน
ใบงานที่ 1.1 
            9) ให้นักเรียนร่วมกันอ่านและอภิปรายภายในกลุ่ม ให้ วิเคราะห์คุณค่าของสังฆคุณ 9 แล้วบันทึกผลในใบงานที่ 1.3 
        2.4 ขั้นสรุปแนวทางปฏิบัติ (ขั้นมรรค) 
                  10) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดของชาลีควรเป็นอย่างไร แล้วบันทึกผลในใบงานที่ 1.1 
                  11) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เกี่ยวกับ หลักสังฆคุณ 9 จากใบความรู้ที่ 1 เรื่อง คุณค่าของพระธรรมคุณ แล้วตอบคำปัญหาในใบงานที่ 1.3 เรื่อง วิเคราะห์คุณค่าของสังฆคุณ 9 
                  12) แจกใบงานที่ 1.2 เรื่อง ความหมายของสังฆคุณ 9 ให้นักเรียนทำเป็นการบ้านส่งนอกเวลาเรียน 
3. ขั้นสรุป 
          3.1 ให้ตัวแทนของนักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานการทำกิจกรรมตามใบงานที่ 1.1 เรื่อง คุณค่าของสังฆคุณ 9 หน้าชั้นเรียน 
          3.2 ครูและนักเรียนช่วยกันสรุป ให้ทราบถึงวิธีการแก้ปัญหา(การดับทุกข์) ตามวิธีการของพระพุทธเจ้า คืออริยสัจ 4 เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป

สาโรช  บัวศรี(2541:67) ได้กล่าววถึง
การคิดแก้ปัญหา อริยสัจ
            เป็นผู้ริเริ่มความคิด ในการนำหลักพุทธรรมมาใช้ในกระบวนการแก้ปัญหา  โดยประยุกต์หลักอริยสัจ  4  อันได้แก่  ทุกข์  สมุทัย  นิโรธ  มรรค  มาใช้ควบคู่กับ   กิจในอริยสัจ  4”  อันประกอบด้วย  ปริญญา (  การกำหนดรู้ )  ปหานะ  (การละ ) สัจฉิกิริยา ( การทำให้แจ้ง )  และภาวนา ( การเจริญ หรือลงมือปฏิบัติ )  จากหลักการทั้งสอง  ศาสตราจารย์ ดร. สาโรช  บัวศรี ได้เสนอแนะกระบวนการแก้ปัญหาในการเรียนการสอน
ดังนี้
1.       ขั้นกำหนดปัญหา  (  ขั้นทุกข์ )
คือการระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข
2.       ขั้นตั้งสมมติฐาน ( ขั้นสมุทัย )
คือ  การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและตั้งสมมุติฐาน
3.       ขั้นทดลอง และ เก็บข้อมูล (  ขั้นนิโรธ )
คือ  การกำหนดวัตุประสงค์และวิธีการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมุติฐานและเก็บรวบรวมข้อมูล
4.       ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล  ( ขั้นมรรค )
คือ  การนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุป

การคิดเพื่อการแก้ปัญหาตามแนวคิดของ โกวิท  วรพิพัฒน์  มีจุดเริ่มต้นที่ตัวปัญหาแล้ว ย้อนพิจารณาไตร่ตรองถึงข้อมูล  3 ประเภท  คือ ข้อมูลด้านตนเอง  ชุมชนสังคมสิ่งแวดล้อมและข้อมูลทางวิชาการ  ต่อจากนั้น จึงลงมือกระทำการ  หากการกระทำสามารถทำให้ปัญหาและความไม่พอใจของบุคคลหายไป  กระบวนการคิดจะยุติลงแต่หากบุคลคลยังไม่พอใจและปัญหายังคงอยู่  บุคคลจะเริ่มกระบวนการรคิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง 
สรุป
                การแก้ปัญหาเป็นกระบวนการทางการคิดที่สำคัญกระบวนการหนึ่งและเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องใช้ในชีวิตประจำวัน  ถ้าทุกคนได้รับการฝึกให้รู้วิธีการคิดแก้ปัญหาอยู่เสมอย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้ได้รับการฝึกฝน  บุคคลที่ประสบกับปัญหาต่าง ๆ แล้ว  สามารถหาแนวทางในการแก้ปัญหานั้นให้สำเร็จลุล่วงได้  ย่อมประสบผลสำเร็จ  นอกจากนี้ยังอาจนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้  ความสามารถในการคิดที่ต้องอาศัยกระบวนการทางสติปัญญา  ความคิดและประสบการณ์เดิมของบุคคลมาประกอบกัน  เพื่อแก้ปัญหาที่ประสบขึ้นในชีวิตประจำวัน  โดยมีแบบพฤติกรรมหรือวิธีการในการแก้ปัญหาอย่างมีลำดับขั้นตอนของกระบวนการทางวิทยาศษสตร์เพื่อให้ปัญหาต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
ที่มา
สาโรช  บัวศรี.(2541). การฝึกเหตุผลเชิงจริธรรม ทฤษฏีและการปฏิบัติ.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=muangklang&topic=251.การสอนแบบอริยสัจ กระบวนการเรียนรู้ .เข้าถึงเมื่อ 21 สิงหาคม 2558.
 ดวงเดือน  เทศวานิช.(2530 ).หลักการสอนทั่วไป.กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น